วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีลงเกมส์ James Cameron's AVATAR - THE GAME





วิธีลงเกม

- เข้าไปที่โฟลเดอร์ bin แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ Avatar.exe แล้วก็กด Next แล้วจะเจอ Active Key ขอรับ

- ติ๊กที่ manual นะครับ จะเจออันที่เขียนว่า Hardware ID ให้ COPY ตรง Hardware ID ไว้ก่อน

- จากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิกที่ keygen_v1.01.exe

- แล้วก็เอา Hardware ID ที่เรา COPY ไว้มาวางที่ช่อง Hardware ID

- จากนั้นก็คลิก Generate แล้วจะได้ Activation Key มา แล้วก็เอาไปใส่ในช่องเสร็จเข้าเกมได้ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัตินักปรัชญา1



ฌอง ปอล ซาร์ตร์



ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย บทละคร นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการ กระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว

ฌอง ปอล ซาร์ตร์เข้ารับการศึกษาที่ École Normale Supérieure ระหว่างปี 1924 – 1929 เมื่อเรียนจบ ก็ได้เป็นอาจารย์สาขาปรัชญา ที่ Le Havre เมื่อปี 1931 ซาตร์สูญเสียบิดาตั้งแต่วัยเยาว์ และเติบโตในบ้านของตา ชื่อ คาร์ล ชไวทเซอร์ (ผู้เป็นลุงของอัลเบิร์ต ชไวทเซอร์) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์

ระหว่างปี 1931 - 45 ซาร์ตร์ได้สอนหนังสือหลายที่ รวมทั้งในอังกฤษ และสุดท้ายก็กลับมาที่ปารีส มีสองครั้งที่อาชีพของเขาถูกขัดขวาง ครั้งหนึ่ง เมื่อต้องศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ในกรุงเบอร์ลิน และครั้งที่สองเมื่อต้องเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 ครั้นปีต่อมาถูกจับเป็นเชลย และอีกปีถัดมาก็ได้รับการปลดปล่อย

ช่วงเวลาที่สอนหนังสือนั้น ซาร์ตร์ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง La Nausee, 1938 เป็นครั้งแรกที่ทำให้เขามีชื่อเสียง นวนิยายเรื่องนี้เขียนในรูปบันทึกประจำวัน เล่าถึงความรู้สึกชิงชัง เมื่อเผชิญหน้ากับโลกของทางวัตถุ ไม่เพียงแต่โลกของคนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับรู้ถึงตัวของเขาด้วย

ซาร์ตร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L'Imagination (1936; จินตนาการ), Esquisse d'une theorie des emotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ L'Imaginaire : Psychologie pheomenologique de l'imagination (1940; จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L'Etre et le neant (1943; ความมีอยู่ และความไม่มีอะไร)ซาร์ตร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (neant) ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (etre)

ซาร์ตร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la liberte อีก 3 เล่ม คือ L'Age de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; ) และ La Mort dans l'ame (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3 ซาร์ตร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาร์ตร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์ และเสรีภาพของปัจเจกชน ซาร์ตร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L'Existentialism est un humanism (1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา

ซาร์ตร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Le Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos (1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Sequestres d'Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย

กิจกรรมทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาร์ตร์มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อชนวนการทางการเมืองในฝรั่งเศส และโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ก็ประกาศชัดมากขึ้น เขาเป็นผู้นิยมสภาพโซเวียตอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม

ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956 ความหวังของซาร์ตร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantoms de Staline ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

ซาร์ตร์ได้ร่วมมือกับ ซิโมน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง Memoires d'une jeune fille rangee,1958 และเรื่อง La Force de l'age, 1960-2 โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาร์ตร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond Aron) โมรีก แมโล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซิโมน แวยล์ (Simone Weil), อองมานูล มูนีแยร์ (Emmanuel Mounier), ฌอง อีปโปลีต (Jean Hippolyte) และ เคลาด์ เลวี-สเตราส์ (Claude Levi-Strauss)

ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาร์ตร์ ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique (1960) ซาร์ตร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมาร์กซ์ และค้นพบว่า ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้


อริสโตเติล


อริสโตเติล (กรีก: Αριστοτέλης, Aristotelēs ; อังกฤษ: Aristotle) (พ.ศ. 160 (384 ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.)) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา

นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ อริสโตเติล, เพลโต (อาจารย์ของอริสโตเติล) และโสกราติส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราติส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ

อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก

  • ปรัชญาของอริสโตเติล
  • อภิปรัชญาของอริสโตเติล
  • ปรัชญาธรรมชาติของอริสโดเติล
  • จิตวิทยาของอริสโตเติล

ประวัติ

อริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน (Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย

ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้นคือ เพลโต ในกรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้นทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิรา ชื่อไลเซียม (Lyceum)

ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย

คำสอน

คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ

ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลนั้นอริสโตเติลเข้าใจว่า โลกเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดย มีดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรรอบ ๆ สวรรค์นั้นอยู่นอกอวกาศ โลกอยู่ด้านล่างลงมา น้ำอยู่บนพื้นโลก ลมอยู่เหนือน้ำ และไฟอยู่เหนือลมอีกทีหนึ่ง ธาตุต่าง ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ทว่าธาตุที่ประกอบเป็นสวรรค์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างเช่นนั้น ตลอดไป ซึ่งคำสอนต่อมาในปี ค.ศ. 1609 โจฮันน์ เคปเลอร์ (Johann Kepler) ได้ตั้งกฏของเคปเลอร์ ซึ่งเป็นการประกาศว่า โลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เป็นการลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของอริสโตเติล

และในอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ กรณีของวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน จะตกลงถึงพื้นไม่พร้อมกันตามหลักของอริสโตเติล ซึ่งกาลิเลโอ ได้ทำการพิสูจน์ต่อหน้าสาธารณชนที่หอเอนแห่งปิซาว่าเป็นคำสอนที่ไม่จริงในปี ค.ศ. 1600

แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของอริสโตเติลทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมาก เพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา และพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก


อ้างอิง

  • Knight, Kelvin. 2007. Aristotelian Philosophy: Ethics and Politics from Aristotle to MacIntyre, Polity Press.
  • Lewis, Frank A. 1991. Substance and Predication in Aristotle. Cambridge: Cambridge University Press.

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.ค.ส 2553