วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

นิกายเซน

นิกายเซน ป็นชื่อญี่ปุ่นของพุทธศาสนา นิกายมหายาน โดยมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย และผ่านมาทาง ประเทศจีน เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าจากประเทศจีนในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจาศาสนาพุทธนิกายเซน เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ

เซนเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ4 และ มรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอก ทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน

คำว่า เซน ในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า ฌาน ในภาษาจีนที่มาจากภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการเข้าฌาน


เซนเชื่อในมนุษย์ทุกคนคือเชื่อว่าทุกคนมีธรรมชาติแห่งพุทธอยู่ด้วยกันทุกคน มีโอกาสตรัสรู้ได้ทุกคน และแจ่มแจ้งในตัวเองหรือการเข้าถึงพุทธะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบใดๆ ทางภายนอกเลยด้วย

เซนชี้อีกว่า การตรัสรู้นี้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพศใด เป็นผู้คงแก่เรียนหรือไม่ อายุหรือวัยเท่าใด ฯลฯ เพราะไม่ว่าจะเป็นใครต่างก็มีธรรมชาติเดิมแท้อันบริสุทธิ์ อยู้ด้วยทุกคน เมื่อสิ่งที่มาครอบคลุมปกปิดถูกรื้อถอนออกไป ความสว่างไสวจะปรากฎออกมาทุกคน ไม่เว้นใครเลย

เซนไม่เน้นเรื่องอื่น เช่นพระเจ้ามีจริงหรือไม่ นรก-สวรรค์มี จริงหรือไม่ บุญกุศลคืออะไร ฯลฯ เซนจะหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หากแต่มุ่งในการทำตัวเองให้แจ่มแจ้งในปัจจุบันขณะนั้นก็พอ ไม่ปรารถนาอะไรอื่น โดยการถกเถียง หรือการเรียนในเชิงปรัชญาเพ้อเจ้อไปนั้น เซนถือว่าไม่ใช่เรื่องของเซนเอาเลยทีเดียว

เซนคือทางและเป็นทางอันตรงแน่วที่นำพาเราไปให้พ้นจากปัญญาใน ระนาบเหตุผลสามัญ หมายความว่าเซน ไม่ใช่เรื่องตรรก เราไม่อาจใช้ตรรกหรือเหตุผลตามธรรมดามาจับเซนได้ และเราไม่อาจอาศัยตรรกเพื่อเข้าสู่วิมุตติได้อีกด้วย

เซนจะจัดการในเรื่องความคิดรวบยอด หรือที่เรียกว่าความคิดปรุงแต่ง (คือความคิดที่ก่อให้เกิดการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็น 2 ขั้ว ต่างกัน เช่น ดี-ชั่ว ผิด-ถูก พอใจ-ไม่พอใจ) ซึ่งเซนถือว่าความคิดนี้เป็นเรื่องผูกมัดมนุษย์ไว้ในกรงแห่งความทุกข์และ อวิชชา ถ้าหากทำลายความคิดปรุงแต่งเหล่านี้เสียได้จะเป็นอิสระ และจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริงของมัน ไม่ใช่ผ่านแว่นแห่งตรรกหรือผ่านความคิดรวบยอดต่างๆ นานา

พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน


1. ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด

ความจริงสูงสุดของเซนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูด หรือตัวหนังสือ ดังคำพูดของเซนที่ว่า "การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัวหนังสือ" ซึ่งก็ตรงกับคำพูดในปรัชญาเต๋าที่ว่า "เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่อาจเรียกได้ด้วยคำพูด เต๋าที่เรียกได้ด้วยคำพูดไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง" และ "ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด" พุทธะอันสูงสุดนั้นคือธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในชีวิตของเรานี้เอง เมื่อคำพูดและความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดังเดิมก็พลันปรากฎ

ดังนั้นเซนจึงมุ่งหวังในเรื่องประสบการณ์ ความตื่นของชีวิตมากกว่าคำพูด ประสบการณ์นี้เรียกว่า "ความว่าง" หรือ "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" หรือ ธรรมชาติดั้งเดิม เปรียบเสมือนการดื่มน้ำ ร้อนหรือเย็นรู้ได้โดยไม่ต้องบอก
2. การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกได้ (ด้วยความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง)

ในความคิดปรุงแต่งใดๆ ก็ตาม จะมีความรู้สึกที่มีตัวตนประสมอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก ความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า การท่องพระสูตร การบูชาพระพุทธรูป การประกอบพิธีต่างๆ นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงข้าม บุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และจะต้องเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้
3. ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่

ประสบการณ์ของความตื่น ความรู้สึกตัวถึงเอกภาพอันแบ่งแยกมิได้ของสรรพสิ่งทั้งมวล การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะภายในของตน เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ได้อะไรมาใหม่ เพียงแต่เป็นการรู้แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเท่านั้น ปัญหามีเพียงว่าที่เราไม่ได้รู้สึกตัวถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง ในภาวะของความตื่น เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติในส่วนลึกลับอันแอบเร้นลับปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้กระทำจะกระทำ สิ่งต่างๆอย่างปราศจากตัวตนและอย่างเป็นกันเอง
4. ไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา

แท้จริงแล้วนั้น ส่งที่เรียกว่าความคิด ลัทธิ และคำพูด ไม่มีความหมายแต่อย่างใด สิ่งสำคัญที่สุดเพียงประการเดียวคือ ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาวพุทธ และไม่มีแม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนา เพราะตราบใดที่ยังยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลายอยู่ตราบนั้น
5. ในขณะที่กำลังหาบน้ำ ผ่าฟืน นั่นแหละ เป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม

การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะแห่งการทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งสากล เราอาจพบมันได้ในทุกหนทุกแห่ง ดังบทเพลงจีนบทหนึ่งที่ว่า

ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น เราเริ่มต้นทำงาน

ทันทีที่พระอาทิตย์ตกดิน เราพักผ่อน เราขุดบ่อน้ำ และเราดื่ม เราไถหว่านบนผืนดิน และเรากิน อำนาจอะไรของเทพเจ้า จะมาเกี่ยวข้องกับเรา

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีใช้ IDM แบบตลอดชีพ

1เข้า start -> run -> พิมพ์ regedit แล้วกดEnter
2เลือก HKEY_LOCAL_MACHINE
3เลือก SORFWARE คลิกที่ Internet Download Manager
4ฝั่งขวาจะมีไฟล์ register ของโปรแกรม ให้เลือก Delete ทั้งหมดซะ แล้วจะลงซ้ำได้
ป.ล. เพราะบางเครื่องมันจะบังเอิญตรวจสอบได้ว่าเรามี serialปลอม(จากเวอร์ชันแคร็กทำให้ใช้งานไม่ได้)

แค่นี้เราก็ใช้ IDM ได้ตลอดชีพแล้วนะคับ